Teacher Jintana Suksom

Teacher Jintana Suksom

วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556



Science Experience Management for Early Childhood


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 


เวลาเรียน 8.30 - 12.20 น


ครั้งที่ 13  9 September 2013





          ไม่มีการเรียนการสอนเพราะอาจารย์ติดธุระ นัดเรียนชดเชยในวัน อาทิตย์ ที่ 15 กันายน  2556 

วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

Science Experience Management for Early Childhood


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 


เวลาเรียน 8.30 - 12.20 น


ครั้งที่ 12    2 September 2013



- อาจารย์ให้แต่ล่ะกลุ่มนำเสนอของเข้ามุม

กลุ่ม 1 การมองเห็นของผ่านวัตถุโปร่งใส โปร่งแสง และทึบแสง
กลุ่ม 2 กล่องนำแสง
กลุ่ม 3 สัตว์ไต่เชือก
กลุ่ม 4 กีตาร์กล่อง
กลุ่ม 5 วงจรผีเสื้อและไก่
กลุ่ม 6 เขาวงกต
กลุ่ม 7 มองวัตถุผ่าแว่นขยาย





และอาจารย์ได้นัดเรียนชดเชย   ในวัน อาทิตย์ ที่ 15 กันยายน 2556 และสื่อทั้งหมดต้องส่งให้ครบ




Science Experience Management for Early Childhood


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 


เวลาเรียน 8.30 - 12.20 น



ครั้งที่ 11   26 August 2013


ไม่มีการเรียนการสอน เพราะอาจารย์จัดงานเกษียณอายุราชการ






Science Experience Management for Early Childhood


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 


เวลาเรียน 8.30 - 12.20 น


ครั้งที่ 10  19 August 2013


ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มี 4 ขั้นดังนี้
  1. การตั้งสมมุติฐาน
  2. การทดลอง
  3. การวิเคราะห์ข้อมูล
  4. การสรุป
           - อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกไปนำเสนองาน การทดลองวิทยาศาสตร์ อาจารย์ให้กลุ่มละ 3 คน       กลุ่มดิฉันมีดังนี้  นางสาวชิดชนก    เสโส  นางสาว ศริวรรณ ปานมุข นางสาว นฤมล มลิวัลย์


ได้นำเสนอการทดลองชื่อ ฟองสบู่



อุปกรณ์
  1. หลอดดูด 2 หลอด
  2. แก้วน้ำ 1 ใบ
  3. สบู่
วิธีทำ 

1. ผสมน้ำสบู่ใส่ลงไปในกล่องใส่
2.จากนั้นใช้หลอดจุ่มลงไปในกล่องใบใส่
3.เป่าลูกโป่งเกิดฟอง  














Concept

อากาศที่เราเป่าออกมาจากตัวเรานั้นเป็นอากาศที่มีความร้อน  ดังนั้นจึงทำให้ฟองสบู่เบาและลอยตัวดันสูงขึ้น  และเมื่ออากาศจากตัวเราในฟองสบู่ค่อยๆหมด  ฟองสบู่ก็จะเริ่มยุบและห่อตัวลงมาจนกลายเป็นของเหลวดังเช่นเดิม


การทดลองของแต่ละกลุ่ม






กลุ่ม  1    กังหันไฟฟ้าสถิต
กลุ่ม  2    แรงตึงผิว
กลุ่ม  3    เป่าลูกโป่งในขวด
กลุ่ม  4    การเกิดของฟองสบู่
กลุ่ม  5    ไข่ในน้ำเกลือ 
กลุ่ม  6     แสงดาวที่หายไป
กลุ่ม  7     วัตถุโปร่งใส โปร่งแสง ทึบแสง
กลุ่ม  8     การทดลองลาวา
กลุ่ม  9     หลอดดูดไม่ขึ้น
กลุ่ม  10   หมึกล่องหน
กลุ่ม  11   เป่าลูกโป่งด้วยผงฟู
กลุ่ม  12   เทียนไขดูดน้ำ
กลุ่ม  13   กาวอวกาศ
กลุ่ม  14   ฟีล์มสีรุ้ง
กลุ่ม  15   เปลวไปลอยน้ำ



Science Experience Management for Early Childhood


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 


เวลาเรียน 8.30 - 12.20 น



17 August 2013   


วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม 2556    เรียนชดเชย

       - อาจารย์ให้เพื่อนแต่ละคนออกไปนำเสนอของเล่นที่ตนได้นำเสนอไปเมื่อวันจันทร์ ที่ 15 กรกฏาคม 2556

การนำเสนอของเพื่อน










Science Experience Management for Early Childhood


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 


เวลาเรียน 8.30 - 12.20 น



ครั้งที่ 9   12 August 2013




   ไม่มีการเรียนการสอน เพราะตรงกับวันที่ 12 สิงหาคมเป็นวันแม่

‘แม่’ ความยิ่งใหญ่ที่พุทธศาสนายกย่อง



ความหมายของคำว่า "แม่"
 
     คำว่า “แม่” พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของคำว่า "แม่" ไว้ดังนี้
 
     แม่ หมายถึง หญิงในฐานะที่เป็นผู้ให้กำเนิดแก่ลูก, คำที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กำเนิดตน
     ในทางพระพุทธศาสนา ได้ให้ความหมายของคำว่า "แม่" ซึ่งหมายถึง หญิงที่มีครอบครัวไว้หลายนัย เช่น
 
     1. แม่ บางทีเรียกว่า มารดา มารดร หมายถึง เป็นใหญ่ เช่น แม่ทัพ แม่น้ำ แม่กอง เป็นต้น อันแสดงถึงความยิ่งใหญ่ภายในกิจการนั้นๆ ในที่นี้มาใช้กับผู้ให้กำเนิดแก่ลูกและหาตัวแทนไม่ได้
        - หญิงในฐานะผู้ให้กำเนิดแก่ลูก และหาตัวแทนไม่ได้
        - คำที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กำเนิดตน
        - คนที่เป็นหัวหน้า หรือเป็นนาย โดยไม่จำกัดว่าเป็นชายหรือหญิง เช่น แม่ทัพ แม่กอง ฯลฯ
     รวมความแล้ว "แม่" คือ ผู้รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน โดยการรับผิดชอบนั้นมีขอบเขตภายในบ้านเรือน
 
     2. ชนนี หมายถึง ผู้ให้กำเนิดลูก, เป็นที่บังเกิดเกล้าของลูก
 
     3. ภรรยา หรือภริยา หมายถึง
        - เมีย หรือ หญิงผู้เป็นคู่ครองของชาย
        - ผู้เลี้ยง หรือผู้ดูแลสมาชิกของครอบครัว
 
     นักภาษาศาสตร์ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า คำว่า "แม่" ของทุก ๆ ภาษา มาจากการออกเสียงของเด็ก โดยคำขึ้นต้นด้วยพยัญชนะริมฝีปากคู่ ได้แก่ ม , พ , ป ,บ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นพยัญชนะชุดแรกที่เด็กสามารถทำเสียงได้ โดยการใช้ริมฝีปากบนและล่าง ดังเช่น
 
ภาษาจีน ม๊ะ หรือ ม่า
ภาษาฝรั่งเศส la mere (ลา แมร์)
ภาษาอังกฤษ mom , mam
ภาษาโซ่ เม๋เปะ
ภาษาไทใต้คง เม เป็นต้น 





ดอกมะลิดอกไม้ประจำวันแม่
 
ชื่อ :
มะลิ มะลิลา มะลิหลวง มะลิซ้อน
ชื่อวิทยาศาสตร์ และชื่อพฤกษศาสตร์ :
Jusminum adenophyllum.
วงศ์ :
OLEACEAE
ลักษณะทั่วไป :
เป็น พรรณไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลาง แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบๆ ลำต้นสูงประมาณ 5 ฟุต ใบเป็นใบเดี่ยวแตกออกเป็นคู่ ไปตามก้านต้นลักษณะใบป้อมมน ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบไม่มีจัก ผิวใบเรียบสีเขียวเข้มเป็นมัน ใบยาว 2-3 นิ้ว มีดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกเป็นช่อตามปลายยอดหรือปลายกิ่งประมาณ 3-5 ดอก แล้วแต่ชนิดพันธุ์ ดอกมีสีขาวกลิ่นหอม มีทั้งดอกลาและดอกซ้อน ออกดอกตลอดปี
การขยายพันธุ์ :
เป็นไม้ที่ชอบแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง ต้องการน้ำปานกลาง ปลูกในดินร่วนซุย ขยายพันธุ์โดยการปักชำ หรือตอนกิ่ง
สรรพคุณทางยา :
มะลินอกจากจะมีกลิ่นหอมไว้ดมแล้ว มะลิดอกแห้งใช้ปรุงเครื่องยาหอมใช้บำรุงหัวใจได้เป็นอย่างดี

 




 มะลิหอมน้อมวางข้างข้างตัก กรุ่นกลิ่น “รัก” บริสุทธิ์ผุดผ่องใส
แทนทุกคำทุกถ้อยร้อยจากใจ เป็นมาลัย “กราบแม่” พร้อมน้อมบูชา
 
ดอกเอ๋ยดอกมะลิ
ถึงยามผลิกลิ่นพราวสกาวต้น
สดสะอาดปราศสีราคีระคน 
เหมือนกมลใสสดหมดระคาย
กลิ่นมะลิหอมกระไรไม่รู้สร่าง  
เปรียบได้อย่างรักแท้ไม่แปรหาย
อันรักแท้แลหัวใจได้บรรยาย
ขอเชิญทาย ณ ที่ไหนจากใครเอย
 
*คำประพันธ์บทดอกสร้อยชื่อ แม่จ๋า ของท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา








Science Experience Management for Early Childhood


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 


เวลาเรียน 8.30 - 12.20 น


ครั้งที่ 8  5 August 2013


         ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นช่วงสอบกลางภาค









Science Experience Management for Early Childhood


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 


เวลาเรียน 8.30 - 12.20 น


 ครั้งที่ 7  29 July 2013 


อาจารย์ให้หยุดอ่านหนังสือสอบกลางภาค

ซึ่งจะสอบในวันที่ 30 กรกฎาคม 2556 - 5 สิงหาคม 2556







วันอาทิตย์ที่28 กรกฏาคม  2556    เรียนชดเชย




  อาจารย์ให้เข้าอบรมการประดิษฐ์สื่อ






ผลงานกลุ่มดิฉัน







Science Experience Management for Early Childhood


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 


เวลาเรียน 8.30 - 12.20 น



ครั้งที่ 6    22 July 2013

                     ไม่มีการเรียนการสอน เพราะเป็นวันเข้าพรรษา


ประวัติวันเข้าพรรษา

          การเข้าพรรษาเป็นบัญญัติซึ่งพระภิกษุสงค์ทุกรูปจะต้องปฏิบัติธรรมอยู่ ณ วัดใดวัดหนึ่ง การอธิษฐานอยู่ประจำและเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชน จะอยู่ในช่วงฤดูฝนคือ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึง ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี



ความสำคัญของวันเข้าพรรษา

     ความดีท่านก็ทำให้ยิ่งๆ ขึ้น ตัวอย่างเช่น อยู่ที่วัดพระเก่าก็เทศน์อบรมให้พระใหม่ พระใหม่ก็ตั้งใจศึกษาให้เป็นความรู้ความดี เพิ่มพูนความดีให้กับตัวของท่านไป แล้วก็ทำใจให้ใสพร้อมๆกัน ด้วยการสวดมนต์ภาวนา แต่เช้ามืด ท่านตื่นกันขึ้นมาตั้งแต่ตีสี่ ตื่นขึ้นมาสวดมนต์กันแต่เช้า เป็นต้น

     สำหรับญาติโยมทั้งหลาย แต่โบราณ พอวันเข้าพรรษาก็อธิษฐานพรรษากันเหมือนกัน อธิษฐานอย่างไร อธิษฐานอย่างนี้ พรรษานี้ สามเดือนนี้ ที่รู้ว่าอะไรเป็นนิสัยที่ไม่ดีในตัวเองที่มีอยู่ ก็อธิษฐานเลย พรรษนี้ (เลือกมาอย่างน้อยหนึ่งข้อ) เราจะแก้ไขตัวเองให้ได้เช่น บางคนเคยกินเหล้าเข้าพรรษาแล้วก็อธิษฐานว่า พรรษนี้เลิกเหล้า เลิกเหล้าให้เด็ดขาด บางคนเคยสูบบุหรี่ ก็อธิษฐานว่า อย่างน้อยพรรษานี้จะเลิกบุหรี่ให้เด็ดขาด เป็นต้น เขาก็มีการอธิษฐานกันในวันเข้าพรรษา พรรษานี้จะละความไม่ดีอะไรบ้าง ทั้งหยาบทั้งละเอียดให้พยายามละกัน คือ ทำตามพระให้เต็มที่นั่นเองในระดับของประชาชน










Science Experience Management for Early Childhood

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 


เวลาเรียน 8.30 - 12.20 น



ครั้งที่ 5    15 July 2013

           -   อาจารย์ให้เพื่อนๆนำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ต่อจากอาทิตย์ที่แล้ว
           -   อาจารย์สั่งให้หาการทดลองวิทยาศาสตร์และของที่อยู่ในมุมโดยให้เด็กเล่นได้เลยมานำเสนอครั้งหน้า
           -   อาจารย์นัดเรียนชดเชย คือ วันอาทิตย์ ที่ 28 กรกฏาคม 2556 เวลา 08.30 - 12.20 น. โดยให้มานำเสนอการทดลองและของที่อยู่ในมุม

ดิฉันได้นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์คือ กบกระโดด

อุปกรณ์
  1. กล่องนม 1 กล่อง
  2. กระดาษสีเขียว
  3. หนังยางรัดของ 
  4. รูปภาพกบ
  5. กาว
  6. กรรไกร

วิธีทำ

  1.  นำกล่องนมมาตัด 
  2. ตัดเส้นผ่านศุนย์กลาง  5 เซน
  3. นำหนังยางมาใส่ ทั้ง2 ข้าง
  4. ติดกระดาษสี รอบกล่องนม
  5. นำรูปภาพกบมาติด
เหตุผลทางวิทยาศาสตร์

        ตอนที่กบกระโด มีการสะสมของพลังงานเป็นพลังงานศักย์ เมื่อเราปล่อยกล่องนมในอากาศ  จึงเกิดพลังงานจนล์ในการเคลื่อนที่จึงทำให้กล่องนมเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้