Teacher Jintana Suksom

Teacher Jintana Suksom

วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

206 อากาศมหัศจรรย์



ครั้งที่ 4      8 July 2013

Science Experience Management for Early Childhood

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 


เวลาเรียน 8.30 - 12.20 น



- อาจารย์ได้แจกกระดาษให้คนละ 2 แผ่น ให้ทำสมุดเล่มเล็กหนึ่งเล่ม
- อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละคนออกไปนำเสนองาน " ของเล่นวิทยาศาสตร์ "
- อาจารย์ได้สาธิตของเล่นวิทยาศาสตร์ให้ดูคือ

        1. เจาะรูใต้ขวดน้ำ 1 รู เอาน้ำใส่จะพบว่าน้ำไหลเพราะเกิดการรั่วที่รูเจาะเอาไว้

        2. ใช้ฝาปิดขวดน้ำใบเดิม จะพบว่า น้ำไม่เกิดการไหลตามรูรั่ว เพราะ อากาศเข้าไปแทนที่



ดู VDO  เรื่อง อากาศ      คือ อากาศไม่มีรูปร่างแต่มีน้ำหนัก





วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556



ครั้งที่3     1 July 2013


Science Experience Management for Early Childhood

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 


เวลาเรียน 8.30 - 12.20 น




อาจารย์ได้พูดสรุปเรื่อง: การพัฒนาการทางสติปัญญาทางวิทยาศาตร์ต่อจากเรียนครั้งที่แล้ว

คือ



ดู VDO เรื่องการหักเหของแสง

            แสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่งเหมือนทำเล เคลื่อนที่ได้เร็ว 300,000 กิโลเมตร/ชั่วโมง   ที่เรามองเห็นวัตถุเพราะแสงส่องโดนวัตถุและแสงก็สะท้องวัตถุนั้นๆเข้าตาเรา เราจึงเห็นวัตถุ ตาเราจึงเป็นจอรับภาพ

คุณสมบัติ

           แสงเคลื่อนที่โดยตรงไม่มีการเปลี่ยนทิศทาง
วัตถุที่แสงผ่านไปได้ 2 แบบ คือ

 1. วัตถุโปร่งแสง = แสงทะลุผ่านไปได้บางส่วน เช่น กระจกฝ้า 2. วัตถุโปร่งใส   = แสงทะลุผ่านไปได้ทั้งหมด เช่น กระจกใส
ส่วนวัตถุทึบแสง = เช่น ไม้ หิน เหล็ก ตัวเรา เป็นต้น


การสะท้อนของแสง

           การที่แสงไปกระทบกับตัวกลางแล้วแสงสะท้อนไปในทิศทางอื่นหรือสะท้อนกลับมาทิศทางเดิม การกระทบของแสงนั้นขึ้นอยู่กับพื้นผิวของวัตถุด้วยว่าเรียบหรือหยาบ




การหักเหของแสง

            การหักเหของแสงเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อแสงเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางต่างชนิดกัน เมื่อแสงเคลื่อนที่จากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่งแสงจะเกิดการหักเห และการหักเหจะเกิดขึ้นเฉพาะผิวรอยต่อของตัวกลางเท่านั้น เช่น ตู้กระจกที่มีน้ำ นำไฟฉายส่องลงตรงๆเสียงก็ออกมาตรง ถ้าเอาไฟฉายส่องเอียง/เฉียง แสงก็เกิดการหักเห เพราะแสงเดินทางผ่านวัตถุคนละชนิด






ความรู้ที่ได้รับ

   ได้รู้เรื่องของวิทยาศาสตร์มากขึ้น เช่น การหักเหของแสง การสะท้องของแสงมากขึ้น

การนำไปประยุกต์ใช้

   สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปศึกษาต่อในเรื่องที่เราไม่รู้มาก่อนเพิ่มเติมเพื่อที่จะนำความรู้ไปสอนต่อ



ครั้งที่2   24 June 2013


Science Experience Management for Early Childhood

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 


เวลาเรียน 8.30 - 12.20 น




- จัดกลุ่ม กลุ่มละ 6 คน

เนื้อหา 


พัฒนาการทางสติปัญญา

           พัฒนาการทางสติปัญญา ( Cognitive development ) คือ ความสามารถในการคิด พัฒนามาจากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม กระบวนการปฏิสัมพันธ์ มี 2 กระบวนการ คือ
1. กระบวนการดูดซึม ( Assimilation )
           มนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมก็จะซึมซาบหรือดูดซึมประสบการณ์ใหม่ๆให้เข้ากับโครงสร้างของปัญญา เช่น การรับข้อมูลจากสิ่งแวดล้อม
2. กระบวนการปรับโครงสร้าง
           การเปลี่ยนโครงสร้างของเชาว์ปัญญาให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์ใหม่ซึ่งเป็นความสามารถในการปรับโครงสร้างทางปัญญา

การปรับตัวเข้าสู่ภาวะสมดุลระหว่างอินทรีย์และสิ่งแวดล้อม
           การดูดซึมเพื่อรับประสบการณ์ใหม่
               - ปรับพฤติกรรมให้เกิดภาวะสมดุลให้เกิดเป็นโครงสร้างทางสติปัญญาและปรับความคิดเดิมให้สอดคล้องกับประสบการณ์ใหม่

ความสำคัญของวิทยาศาสตร์

          วิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับชีวิตของทุกคนทั้งในการดำรงชีวิตประจำวัน และในงานอาชีพต่างๆ ความรู้วิทยาศาสตร์ช่วยให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยี ทำให้ได้รู้จักพัฒนาวิธีคิด คิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์และสามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบได้


ความหมายของวิทยาศาสตร์

          พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน.( 2545:744 )  คือ ความรู้ที่ได้จากการสังเกตและการค้นคว้าจากธรรมชาติ

           Dr. Arther A. Carin  คือ วิทยาศาสตร์เป็นความรู้ที่ได้จากการทดสอบยืนยันมาแล้ว จึงกล่าวได้ว่า การศึกษาเรื่องสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย ตัวความรู้และกระบวนการที่ใช้ค้นหาอย่างเป็นระบบ นำมาปรับปรุงความเป็นอยู่ของมนุษย์

- การเรียนรู้เกิดขึ้นจากเส้นใยของสมองที่เชื่อมกัน
- การทำให้เด็กเกิดการคิด เพื่อให้เส้นใย ประสาทเชื่อมต่อกันในเชลล์ต่างๆ
- ไม่ได้เรียน = ใยประสาทจุดเชื่อมโยงหาย
- เรียนรู้ผิด = ใยประสาทของวงจรการเรียนผิดหนาตัวขึ้น


0-2 ปี
3-5 ปี
ปัจจัยภายนอก
( ความรู้สึกความสามารถ)
การใช้กล้ามเนื้อใหญ่ ประสาทรับรู้พื้นฐาน
การใช้กล้ามเนื้อเล็ก ภาษาจินตนาการ
ปัจจัยภายใน
( คุณลักษณะ )
ความผูกพันและความไว้วางใจ
การควบคุมอารมณ์ การรู้ถูกผิด

ความหมายของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

           ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ ความสามารถในการปฏิบัติและฝึกฝนกระบวนการทางความคิดในการค้นคว้าหาข้อมูลและการแก้ไขปัญหา
     
          สมาคมการศึกษาวิทยาศาสตร์ขั้นสูงของสหรัฐอเมริกา ได้แบ่งทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ออกเป็น 13 กระบวนการ จำแนกออกเป็น 2 ระดับ คือ
1. กระบวนการขั้นพื้นฐานหรือกระบวนการเบื้องต้น
           - การสังเกต
           - การวัด
           - การจำแนกประเภท
           - การหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับเวลา
           - การคำนาณ
           - การจัดกระทำข้อมูลและการสื่อความหมาย
2. กระบวนการขั้นผสม
           - ตั้งสมมติฐาน
           - กำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ
           - กำหนดควบคุมตัวแปร
           - การทดลอง
           - การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป

          ดังนั้น วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติประกอบด้วยตัวความรู้แและกระบวนการแสวงหาความรู้ เพื่อนำมาปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ที่อาศัยอยู่บนโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง มีความแตกต่าง มีการปรับตัว มีการพึ่งพาอาศัยกันและมีการปรับตัวให้ได้ความสมดุลกับธรรมชาติ

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และผลผลิต

           กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ การค้นคว้าหาความรู้อย่างมีระบบ
           ผลผลิต คือ สิ่งที่ปรากฏขึ้นภายหลังจากที่ได้การทดลองที่ค้นคว้าด้วยวิธีการทดลองทางวิทยาศาสตร์มาแล้ว

           กิจกรรมวิทยาศาสตร์นั้นกระบวนการและผลผลิตจะต้องเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องอยู่เสมอ เพราะเมื่อครูจัดเตรียมให้เด็กทำกิจกรรม ครูก็จะต้องสังเกตดูวิธีการทำงานของเด็ก ( กระบวนการ ) เมื่อเด็กทำเสร็จแล้ว ครูต้องดูผลงานของเด็ก ( ผลผลิต )


       
แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

          เกรก ให้แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ไว้ 5 ประการ เรียกว่า Graig' s basic concepts มีลักษณะสำคัญ 5 ประการ คือ
- ความเปลี่ยนแปลง
- ความแตกต่าง
- การปรับตัว
- การพึ่งพาอาศัยกัน
- ความสมดุล
           แนวคิดพื้นฐานทั้ง 5 จะช่วยให้ครูเข้าใจในการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับธรรมชาติของวิชา

การรายงานของแต่ละกลุ่ม







ความรู้ที่ได้รับ

          ได้รู้ถึงเรื่อง ความหมาย ความสำคัญและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มากขึ้นและสามารถทำให้รู้จักคิดอย่างเป็นระบบ มีความคิดสร้างสรรค์และคิดเป็นเหตุเป็นผลมากยิ่งขึ้น และได้รู้เรื่องคุณค่าของน้ำมากขึ้น


การประยุกต์ใช้

           - สามารถนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ ไม่ว่าจะเป็นการคิดแก้ไขปัญหา การคิดแบบเป็นเหตุเป็นผล



ครั้งที่ 1   17 JUNE 2013



Science Experience Management for Early Childhood

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 


เวลาเรียน 8.30 - 12.20 น.

  


เนื้อหา



ความรู้ที่ได้รับ
          ได้รู้เรื่องเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์มากขึ้นและได้รู้ถึงการนำวิทยาศาสตร์ไปสอนเด็กเพราะการเรียนของเด็กอนุบาลไม่เหมือนตอนอยู่ประถม เรียนสอนวิทยาศาสตร์แก่เด็กอนุบาลต้องสอนผ่านการเล่นด้วย

ประยุกต์ใช้
          ได้นำวิชา วิทยาศาสตร์ ที่เรียนมานำไปประยุกต์ใช้กับเด็กปฐมวัย คือ วิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยไม่เข้าใจในเนื้อหาต้องโดยผ่านการเล่นด้ว