Teacher Jintana Suksom

Teacher Jintana Suksom

วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556



ครั้งที่3     1 July 2013


Science Experience Management for Early Childhood

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 


เวลาเรียน 8.30 - 12.20 น




อาจารย์ได้พูดสรุปเรื่อง: การพัฒนาการทางสติปัญญาทางวิทยาศาตร์ต่อจากเรียนครั้งที่แล้ว

คือ



ดู VDO เรื่องการหักเหของแสง

            แสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่งเหมือนทำเล เคลื่อนที่ได้เร็ว 300,000 กิโลเมตร/ชั่วโมง   ที่เรามองเห็นวัตถุเพราะแสงส่องโดนวัตถุและแสงก็สะท้องวัตถุนั้นๆเข้าตาเรา เราจึงเห็นวัตถุ ตาเราจึงเป็นจอรับภาพ

คุณสมบัติ

           แสงเคลื่อนที่โดยตรงไม่มีการเปลี่ยนทิศทาง
วัตถุที่แสงผ่านไปได้ 2 แบบ คือ

 1. วัตถุโปร่งแสง = แสงทะลุผ่านไปได้บางส่วน เช่น กระจกฝ้า 2. วัตถุโปร่งใส   = แสงทะลุผ่านไปได้ทั้งหมด เช่น กระจกใส
ส่วนวัตถุทึบแสง = เช่น ไม้ หิน เหล็ก ตัวเรา เป็นต้น


การสะท้อนของแสง

           การที่แสงไปกระทบกับตัวกลางแล้วแสงสะท้อนไปในทิศทางอื่นหรือสะท้อนกลับมาทิศทางเดิม การกระทบของแสงนั้นขึ้นอยู่กับพื้นผิวของวัตถุด้วยว่าเรียบหรือหยาบ




การหักเหของแสง

            การหักเหของแสงเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อแสงเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางต่างชนิดกัน เมื่อแสงเคลื่อนที่จากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่งแสงจะเกิดการหักเห และการหักเหจะเกิดขึ้นเฉพาะผิวรอยต่อของตัวกลางเท่านั้น เช่น ตู้กระจกที่มีน้ำ นำไฟฉายส่องลงตรงๆเสียงก็ออกมาตรง ถ้าเอาไฟฉายส่องเอียง/เฉียง แสงก็เกิดการหักเห เพราะแสงเดินทางผ่านวัตถุคนละชนิด






ความรู้ที่ได้รับ

   ได้รู้เรื่องของวิทยาศาสตร์มากขึ้น เช่น การหักเหของแสง การสะท้องของแสงมากขึ้น

การนำไปประยุกต์ใช้

   สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปศึกษาต่อในเรื่องที่เราไม่รู้มาก่อนเพิ่มเติมเพื่อที่จะนำความรู้ไปสอนต่อ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น